วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เทคโนโลยี 3G


เทคโนโลยี 3G คืออะไร 
3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต 3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น 

จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี 3G
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (Third Generation Mobile Network หรือ 3G) เป็นเทคโนโลยียุคถัดมาจากการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2 หรือ 2G ซึ่งประสบความสำเร็จในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจสื่อสารไร้สายอย่างมหาศาลนับตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ในยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G มีมาตรฐานที่สำคัญที่มีการนิยมใช้งานทั่วโลกอยู่ 2 มาตรฐาน กล่าวคือมาตรฐาน GSM (Global System for Mobile Communication) อันเป็นมาตรฐานของกลุ่มสหภาพยุโรป ปัจจุบันมีส่วนแบ่งทางการตลาดทั่วโลกสูงที่สุด และมาตรฐาน CDMA (Code Division Multiple Access) อันเป็นมาตรฐานจากสหรัฐอเมริกา มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับที่สอง
จุดมุ่งหมายของการพัฒนามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ขึ้น ก็เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานระบบสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล (Personal Communication) ในลักษณะไร้พรมแดน (Global Communication) โดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถนำเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้งานในที่ใด ๆ ก็ได้ทั่วโลกที่มีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าว และยังเป็นยุคของการนำมาตรฐานสื่อสารแบบดิจิตอลสมบูรณ์แบบมาใช้รักษาความปลอดภัย และเสริมประสิทธิภาพในการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบริการส่งข้อความแบบสั้น (Short Message Service หรือ SMS) และการเริ่มต้นของยุคสื่อสารข้อมูลผ่านเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นครั้งแรก โดยมาตรฐาน GSM และ CDMA ตอบสนองความต้องการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงสุด 9,600 บิตต่อวินาที ซึ่งถือว่าเพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราเร็วของการสื่อสาร ผ่านโมเด็มในเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐานเมื่อกว่าสิบปีก่อน
การตอบรับของกลุ่มผู้บริโภคบริการสื่อสารไร้สายทั่วโลก ทำให้มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการณ์ทั่วโลกอย่างมหาศาล ก่อให้เกิดการเปิดสัมปทานและนำมาซึ่งการแข่งขันอย่างรุนแรงในแทบทุกประเทศ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนอกจากจะมีผลทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนของผู้ใช้บริการอย่างก้าวกระโดดแล้ว ในขณะเดียวกันยังสร้างผลกระทบต่อรายได้โดยเฉลี่ยต่อเลขหมาย (Average Revenue per User หรือ ARPU) ของผู้ให้บริการเครือข่าย อันเนื่องมาจากการกลยุทธ์การแข่งขันด้านราคา ยิ่งเมื่อมีการเปิดตัวบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพร้อมใช้ (Prepaid Subscriber) ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ก็ทำให้เกิดการลดถอยของ ARPU ลงอย่างต่อเนื่อง พร้อม กับปัญหาผู้ใช้บริการย้ายค่าย (Brand Switching) ที่รุนแรงขึ้น
เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตราสินค้าและยังเป็นการสร้างรายได้เพิ่มเพื่อชดเชย ARPU ที่ลดต่ำลง เนื่องจากปรากฏการณ์อิ่มตัวของบริการสื่อสารด้วยเสียง(Voice Service) ผู้ประกอบการในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกจึงมีความเห็นตรงกันที่จะสร้างบริการสื่อสารไร้สายรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้น โดยพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ที่เปิดใช้งานอยู่ ให้มีศักยภาพเพิ่มเติมเพื่อรองรับบริการสื่อสารข้อมูลแบบที่มิใช่เสียง (Non-Voice Communication) พร้อมกับการวางแผนธุรกิจ แผนปฏิบัติการทางวิศวกรรม การตลาด และแผนการลงทุน เพื่อสร้างกระแสความต้องการ (Demand Aggregation) ให้กับฐานลูกค้าผู้ใช้บริการที่มีอยู่เดิม เพื่อเพิ่ม ARPU ให้สูงขึ้น พร้อม ๆ กับผลักดันให้เกิดบริการรูปแบบใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับส่งข้อมูลแบบ EMS (Enhanced Messaging Service) หรือ MMS (Multimedia Messaging Service) รวมถึงบริการท่องโลกอินเทอร์เน็ตไร้สายผ่านอุปกรณ์สื่อสารรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งมีทั้งที่เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่ว ๆ ไป อุปกรณ์ไร้สายประเภท PDA (Personal Digital Assistant) และโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะ (Smart Phone)
เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ที่ได้มีการลงทุนไว้แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด มาตรฐานเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบใหม่ ๆ จึงถูกกำหนดขึ้น ภายใต้แนวคิดในการพัฒนาเครือข่ายเดิม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี HSCSD (High Speed Circuit Switching Data), GPRS (General Packet Radio Service) หรือ EDGE (Enhanced Data Rate for GPRS Evolution) ของค่าย GSM และเทคโนโลยี cdma20001xEV-DV หรือ cdma20001xEV-DO ของค่าย CDMA ดังแสดงพัฒนาการในรูปที่ 1 เรียกมาตรฐานต่อยอดดังกล่าวโดยรวมว่า เทคโนโลยียุค 2.5G/2.75G ซึ่งในช่วงเวลานี้เองที่ปรากฏมีมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ PDC (Packet Digital Cellular) เปิดให้บริการสื่อสารข้อมูลในลักษณะของเทคโนโลยี 2.5G ภายใต้ชื่อเครื่องหมายการค้า i-mode ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในการเปิดศักราชของการให้บริการสื่อสารข้อมูลแบบมัลติมีเดียไร้สายในประเทศญี่ปุ่น และได้กลายเป็นต้นแบบของการจัดทำธุรกิจ Non-Voice ให้กับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกในเวลาต่อมา
ลักษณะการทำงานของ 3G เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ ,รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่ ,ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ 

เทคโนโลยี 3G น่าสนใจอย่างไร จากการที่ 3G สามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูง ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ อย่างรวดเร็ว และ มีรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ประกอบกับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3G สามารถให้บริการระบบเสียง และ แอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่ เช่น จอแสดงภาพสี, เครื่องเล่น mp3, เครื่องเล่นวีดีโอ การดาวน์โหลดเกม, แสดงกราฟฟิก และ การแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ ทำให้การสื่อสารเป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟ ที่สร้างความสนุกสนาน และ สมจริงมากขึ้น 3G ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น โดย โทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา, วิทยุส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลใน account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น self-care (ตรวจสอบค่าใช้บริการ), แก้ไขข้อมูลส่วนตัว และ ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าวบันเทิง, ข้อมูลด้านการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว 

คุณสมบัติหลักของ 3G คือ มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ (always on) นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log-in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล ซึ่งการเสียค่าบริการแบบนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่าย 

อุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3G สำหรับ 3G อุปกรณ์สื่อสารไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่โทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังปรากฏในรูปแบบของอุปกรณ์ สื่อสารอื่น เช่น Palmtop, Personal Digital Assistant (PDA), Laptop และ PC 


ที่มา : http://bit.ly/16qUSd2 

บริการต่างๆของ GOOGLE

แลร์รี่ เพจผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเราเคยกล่าวไว้ว่า "เครื่องมือค้นหาที่ยอดเยี่ยมจะเข้าใจอย่างชัดเจนว่าคุณหมายถึงอะไรและแสดงผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการของคุณ" นับตั้งแต่เขากล่าวคำพูดเหล่านั้น Google ก็ได้เติบโตขึ้นเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มากกว่าการค้นหา แต่จิตวิญญาณของสิ่งที่เขากล่าวก็ยังคงอยู่ ด้วยเทคโนโลยีของเราทั้งหมดนับตั้งแต่การค้นหาไปจนถึง Chrome และ Gmail เป้าหมายของเราคือการทำให้คุณสามารถค้นหาข้อมูลที่คุณต้องการและทำให้สิ่งที่คุณต้องทำสำเร็จลงได้อย่างง่ายดายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ซึ่งหมายถึงการทำให้การค้นหาชาญฉลาดขึ้นและรวดเร็วมากขึ้น ดังนั้นจึงสามารถเข้าใจว่าเมื่อคุณพิมพ์คำว่า [จากัวร์] คุณกำลังค้นหารถยนต์จากัวร์ ไม่ใช่รูปภาพของเสือจากัวร์ หมายถึงการแสดงให้คุณเห็นเมื่อเพื่อนๆ ของคุณชอบโฆษณาหรือผลการค้นหาใดๆ เพื่อให้คุณทราบว่าสิ่งนั้นอาจจะมีคุณค่าก็เป็นได้ หมายถึงการทำให้ผลิตภัณฑ์ของเราทำงานอย่างเป็นธรรมชาติ เพื่อให้คุณสามารถแบ่งปันเอกสารกับผู้ที่คุณติดต่อใน Gmail โดยที่ไม่ต้องคัดลอกและวาง และเปิดแท็บต่างๆ บนโทรศัพท์ระบบแอนดรอยด์เหมือนกับที่คุณเปิดไว้ที่เบราว์เซอร์ Chrome บนเดสก์ท็อปของคุณ เหนือสิ่งอื่นใด หมายถึงการทำให้ผลิตภัณฑ์ของเราทำงานได้ดีขึ้น เพื่อให้ผู้คนสามารถใช้เวลาไปกับสิ่งต่างๆ ที่ตนถนัด อย่างเช่น การใช้เวลาอย่างสนุกสนานกับครอบครัว การไปตั้งแคมป์ในป่า การวาดภาพ หรือการจัดงานเลี้ยง เรายังทำไม่สำเร็จ แต่เรากำลังพยายามอยู่
รายการผลิตภัณฑ์ของgoogle : http://www.google.co.th/intl/th/about/products/  ,  http://www.oknation.net/blog/worawut/2010/01/30/entry-1

สิ่งที่googleทำให้กับธุรกิจ

เรามอบเครื่องมืออันหลากหลายเพื่อช่วยให้ธุรกิจทุกประเภทประสบความสำเร็จทั้งในเว็บและนอกเว็บ โปรแกรมเหล่านี้สร้างเสาหลักให้กับธุรกิจของเราเอง ทั้งยังทำให้ผู้ประกอบการและผู้โฆษณาทั่วโลกสามารถสร้างเสาหลักให้ตนเองด้วยเช่นกัน โปรแกรมการโฆษณาของเราซึ่งมีตั้งแต่โฆษณาแบบข้อความธรรมดาไปจนถึงโฆษณาสื่อสมบูรณ์ช่วยให้ธุรกิจสามารถหาลูกค้าได้และช่วยให้ผู้โฆษณาสามารถสร้างรายได้จากเนื้อหาของตน เรายังนำเสนอการประมวลผลแบบคลาวด์สำหรับธุรกิจต่างๆ ซึ่งช่วยประหยัดเงินและช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น

สิ่งที่googleทำให้กับเว็บ

เราสร้างผลิตภัณฑ์ที่คาดว่าจะทำให้เว็บมีคุณภาพดียิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประสบการณ์ของคุณบนเว็บดียิ่งขึ้น เราต้องการให้ผู้คนสามารถทำสิ่งที่ตนต้องการทางออนไลน์ได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้นด้วยผลิตภัณฑ์อย่าง Chrome และแอนดรอยด์ เรายังมุ่งมั่นกับเว็บแบบเปิดกว้าง ดังนั้นเราจึงมีส่วนร่วมในโครงการต่างๆ เพื่อให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถทำงานในสภาพแวดล้อมออนไลน์ได้ง่ายขึ้นและทำให้เว็บพัฒนาก้าวหน้ายิ่งขึ้น เว็บได้มีวิวัฒนาการไปอย่างมากนับตั้งแต่การปรากฏตัวของ Google เป็นครั้งแรก แต่สิ่งหนึ่งที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงคือความเชื่อของเราในความเป็นไปได้อันไม่มีที่สิ้นสุดของตัวอินเทอร์เน็ตเอง


FTP (file transfer protocol)


FTP ย่อมาจาก (File Transfer Protocol) คือ รูปแบบมาตรฐานบนโครงข่าย (standard network protocol) ชนิดหนึ่ง ที่ใช้สำหรับการส่งไฟล์ หรือรับไฟล์ (receive file) ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่ายที่ส่วนใหญ่จะเรียกว่าไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่าย คือ
FTP เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับส่งแฟ้ม (Send) หรือรับแฟ้ม (Receive) ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ (Client Computer) กับเครื่องบริการ (Web Hosting) ผู้ให้บริการมักเปิดบริการ Port 21 พร้อมสร้างรหัสผู้ใช้(User Name) และรหัสผ่าน(Password) ให้ผู้ใช้แต่ละคนได้เป็นเจ้าของพื้นที่แต่ละห้อง (User Folder) เมื่อส่งแฟ้มชื่อ index.html หรือ default.asp ตามที่เครื่องบริการกำหนด เข้าไปในห้องสำหรับเผยแพร่เว็บเพจ ผู้ใช้ทั่วไปก็จะเข้าถึงข้อมูลได้ตามที่ผู้พัฒนาเว็บเพจคาดหวัง

ส่งแฟ้มเข้าเครื่องบริการได้อย่างไร (โดยทั่วไป)
วิธีที่ 1 : ใช้ File Manager ใน Control Panel
    ผู้ให้บริการ Web Hosting ทุกรายมีระบบ Control Panel เช่น cpanel, direct admin หรือ plesk ผู้ ใช้จะได้รับ e-mail แจ้งว่าเข้าใช้ Control Panel ได้อย่างไร และจะพบกับ File Manager ที่ทำให้ท่านเข้าไปจัดการกับระบบแฟ้ม และห้องต่างๆ ได้ รวมถึงการส่งแฟ้ม หรือนำแฟ้มออกมาจากเครื่อง เป็นต้น
วิธีที่ 2 : ใช้ DOS FTP on Command Line
    ในคอมพิวเตอร์ทุกระบบปฏิบัติการ มักมีโปรแกรม FTP ที่ทำงานใน Text Mode ท่านสามารถพิมพ์คำสั่ง ftp ตามด้วยชื่อ Host เพื่อเชื่อมต่อกับเครื่องบริการ และส่งแฟ้มได้ทันที ตัวอย่างคำสั่งอยู่ท้ายสุดของเว็บเพจหน้านี้
วิธีที่ 3 : FTP Client Program
    ต้อง Download โปรแกรม เช่น filezilla หรือ ws_ftp32 เป็นต้น มาติดตั้งในคอมพิวเตอร์ แล้วกำหนดชื่อโฮส ชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่านโปรแกรมจะเข้าเชื่อมต่อกับเครื่องบริการ
จากนั้นผู้ใช้ก็เลือกแฟ้มที่จะส่ง หรือรับ กับเครื่องบริการได้โดยสะดวก 

E-mail จดหมายอิเล็กทรอนิกส์

E-Mail คืออะไร


จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) คือ การส่งข้อความหรือข่าวสารจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่นๆ ผ่านทางคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายเหมือนกับการส่งจดหมาย แต่อยู่ในรูปแบบของสัญญาณข้อมูลที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ โดยเปลี่ยนการนำส่งจดหมายจากบุรุษไปรษณีย์มาเป็นโปรแกรม และเปลี่ยนจากการใช้เส้นทางจราจรคมนาคมทั่วไปมาเป็นช่องสัญญาณรูปแบบต่างๆ ที่เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะตรงเข้ามาสู่ Mail Box ที่ถูกจัดสรรใน Server ของผู้รับปลายทางทันที…
เราใช้ E-Mail ทำอะไรกัน

ปัจจุบันนี้ด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ทำให้ระบบการติดต่อสื่อสารข้อมูลถึงกันสามารถทำได้อย่างง่ายดาย อินเตอร์เน็ตนับเป็นระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เพราะมีผู้ใช้งานมากกว่า 25 ล้านคน ติดต่อเข้าใช้อินเตอร์เน็ต เพื่อส่ง E-Mail

 E-Mail นับเป็นทางเลือกใหม่ของการติดต่อสื่อสาร ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีระบบเครือข่าย ทำให้การส่งหรือรับ E-Mail ไม่ว่าผู้ส่งและผู้รับจะอยู่ที่ใด เป็นไปได้ในช่วงเวลาที่สั้นและรวดเร็ว สามารถส่งหรือรับข้อมูลได้ทันที และตลอดเวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบ โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจะสัมพันธ์กับค่าโทรศัพท์ที่ใช้ และค่าธรรมเนียมในการขอใช้บริการจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต

เราใช้ E-Mail เพื่อส่งข้อมูลที่สามารถจัดเก็บในรูปแบบของแฟ้มข้อมูล (File) คอมพิวเตอร์ได้ทุกประเภท ไม่ว่านั่นจะเป็นเพียงข้อความจดหมายเพื่อพูดคุยธรรมดาหรือเป็นแฟ้มข้อมูลรูปภาพ รวมทั้งยังสามารถแนบแฟ้มข้อมูลเอกสาร หรือข้อมูลต่างๆได้อีกด้วย

ในเชิงธุรกิจ E-Mail จะช่วยลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ยังสามารถส่งจดหมายฉบับเดียวกันถึงผู้รับปลายทางได้เป็นจำนวนมาก ทำให้มีการนำ E-Mail มาใช้เพื่อการโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการได้อีกด้วย

มาทำความรู้จักและเรียนรู้วิธีใช้งาน E-Mail กัน

ในการใช้งาน E-Mail จำเป็นจะต้องมี E-Mail Address เสียก่อน โดย E-Mail Address จะเป็นเหมือนที่อยู่ทางอินเตอร์เน็ตของแต่ละคน มักจะแทนด้วยชื่อหรือรหัสที่ใช้แทนตัว แล้วตามด้วยชื่อของ Mail Server ที่ให้บริการ เช่น somchai@isp.co.th โดยทั่วไป E-Mail Address จะประกอบด้วย

- User ID ใช้เป็นชื่อหรือรหัสประจำตัวของผู้ใช้บริการแต่ละคน

- เครื่องหมาย @

- Domain Name ของ Mail Server ที่ใช้บริการ

เมื่อต้องการส่ง E-Mail มีส่วนประกอบสำคัญที่ต้องให้รายละเอียด คือ

1. To: ระบุ E-Mail Address ของผู้รับปลายทาง

2. Subject: ใส่หัวเรื่องย่อๆของเนื้อหา

3. CC (Carbon Copy): เป็นการระบุ E-Mail Address ของผู้ที่เราต้องการให้ได้รับสำเนาของจดหมายฉบับนี้ด้วย

4. BCC (Blind Carbon Copy): เช่นเดียวกับ CC แต่ทำให้ผู้รับไม่ทราบว่าเราต้องการ ส่งใคร

5. Attachment: เราสามารถแนบไฟล์ไปกับการส่ง E-Mail ด้วยก็ได้

6. Body: เป็นเนื้อหาข้อความของจดหมาย

โปรโตคอลสำหรับรับส่งอีเมล

โปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลด้านอีเมล์ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย

SMTP

SMTP (Simple Message Transfer Protocol ) ทำหน้าที่ส่งอีเมล์จากเซิร์ฟเวอร์ของผู้ส่งไปยังเมล์เซิร์ฟเวอร์ของผู้รับ

POP

กระบวนการส่งเมล์จะสิ้นสุดเมื่อผู้ส่งสั่งให้เมล์ไคลเอนท์ส่งข้อมูลไปถึงเมล์เซิร์ฟเวอร์ของผู้รับและอีเมล์นั้นจะถูกจัดเก็บไว้ในเมล์บ็อกซ์ของผู้รับที่เครื่องเมล์เซิร์ฟเวอร์

IMAP

IMAP (Internet Message Access Protocol) คือ โปรโตคอลที่ใช้ในการจัดการเมล์บ็อกซ์

รูปแบบของอีเมล และอีเมลแอดเดรส

E-mail address : ที่อยู่การส่ง E-mail   
  • @ domain name
  • sakda@kku.ac.th 
  • ต้องไม่มี  ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่,  เว้นวรรค  
มีส่วนประกอบ 3 ส่วน
  • Username : ชื่อผู้ใช้
  • เครื่องหมาย :  เรียกว่า assign  อ่านออกเสียงว่า “at”  
  • domain name : ชื่อสถานีรับ-ส่ง E-mail

E-mail คือ จดหมาย ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ บางแห่งใช้เฉพาะภายใน บางแห่งใช้เฉพาะภายนอกองค์กร (สาหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ Internet) การใช้งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรม Word จากนั้นก็คลิกคาสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่า Email Address เป็นหลักในการรับส่ง

ประเภทของอีเมล

อีเมล์ได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นในการสื่อสารของโลกยุคปัจจุบัน สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพราะสะดวก ประหยัด และรวดเร็ว ดังนั้น การให้บริการมีหลายรูปแบบ ดังนี้

1. อีเมล์จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต คือ อีเมล์ที่ได้มาจากการที่เราสมัครสมาชิกของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP)

2. อีเมล์จากองค์กร เช่น บริษัท สถาบันการศึกษา หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ 

3. อีเมล์ฟรี คือ ว็บไซต์ที่ให้บริการรับส่งจดหมายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยไม่จำกัดกลุ่มบุคคล

ขั้นตอนการขอใช้บริการอีเมล์

1.ให้เข้าไปเพื่อลิงค์ที่   https://www.google.com/a/cpanel/standard/new3
2.หน้าแรก ของ Google Apps คลิกที่ ลงชื่อสมัครเข้าใช้ เพื่อลงทะเบียน
3.คลิกเลือกแพ็คเกจที่ต้องการ (ในที่นี้เลือก Standard Edition เนื่องจาก ฟรี!!)
การเขียนและการส่งจดหมาย

     จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกสั้นๆ ว่า อีเมล์ (E-mail) หมายถึง จดหมายหรือข้อความที่ส่งถึงกันผ่านระบบเครือข่าย เราสามารถส่งจดหมายไปให้ผู้รับซึ่งเป็นสมาชิกของระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่จำกัดสถานที่และเวลา จดหมายจะส่งถึงปลายทางอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาที หรืออาจจะส่งจดหมายฉบับเดียวไปถึงผู้รับหลายคน ในเวลาเดียวกันก็ได้ ทั้งผู้รับและส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีที่อยู่เพื่อใช้ในการอ้างอิงการส่งและรับจดหมาย ที่อยู่สำหรับการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยสองส่วนคือ รหัสผู้ใช้หรือ User ID ซึ่งจะได้รับจากผู้ให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนที่สองคือชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการบริการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือ HostName โดยรูปแบบการเขียนจะเริ่มต้นด้วย User ID คั่นด้วยเครื่องหมาย @ ตามด้วย HostName ดังนี้ User ID @hostname ตัวอย่างเช่น u9999999@dusit.ac.th หมายถึงผู้ใช้มี User ID เป็น u9999999 และเป็นสมาชิกอยู่ที่ Host ชื่อ dusit.ac.th เป็นต้น
     จุดเด่นของอีเมล์ คือ สามารถแนบไฟล์ข้อมูลอื่นๆ ไปกับอีเมล์ได้ ซึ่งไฟล์ที่ติดไปนั้นอาจจะเป็นไฟล์ภาพ ไฟล์โปรแกรม หรือไฟล์ข้อมูลก็ได้ เมื่อส่งอีเมล์ไปมันจะวิ่งไปยังปลายทาง ในแทบจะทันที ไม่ว่าปลายทางจะอยู่ห่างออกไปใกล้เพียงฝ่ามือหรือไกลสุดขอบโลกก็ตาม     

อีเมล์แอดเดรส      ในการส่งจดหมายธรรมดาผู้ส่งจดหมายต้องทราบที่อยู่ของผู้รับก่อน การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ก็ใช้หลักการเดียวกัน ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทุกคนจะมีที่อยู่หรือแอดเดรสเป็นของตนเอง เช่นbudsayaphan@hotmail.com หรือ budsayaphan@yahoo.com โดยได้รับแอดเดรสจากการที่คุณสมัครเป็นสมาชิกตามเว็บที่มีการบริการอีเมล์
         แอดเดรสแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ (user name) และชื่อโดเมน (domain name) ซึ่งผู้ใช้หมายถึงชื่อหรือชื่อใดๆ ของผู้ใช้อีเมล์ ข้างหลังชื่อผู้ใช้จะเป็นเครื่องหมาย @ (at sign) แปลว่า ที่คั่นระหว่างชื่อกับโดเมน
        ส่วนที่เป็นชื่อของโดเมนจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์และสถานที่ตั้งของคอมพิวเตอร์ เช่น Budsayaphan @ hotmail. com ชื่อผู้ใช้ ที่ ชื่อโดเมน รหัสโดเมนเป็นลำดับชั้นของเครือข่าย โดยจะใช้เครื่องหมาย จุด คั่นระหว่างลำดับชั้น ลำดับชั้นที่ใหญ่ที่สุดจะอยู่ทางด้านขวาสุด แนวความคิดของการแบ่งลำดับชั้นของโดเมนก็คล้ายกับการแบ่งที่อยู่ออกเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และประเทศ 

การส่ง E- Mail     ขั้นที่ 1  นำ Mouse ไป Click ที่ Compose     ขั้นที่ 2  หลังจากเลือก   Compose   แล้ว หลังจากนั้นมีวิธีการ ดังนี้
         -     หลังคำว่า To: ให้ใส่ชื่อ E-Mail ของคนที่เราต้องการจะส่ง Mail ไปหา หากต้องการส่งไปให้หลายคน ให้ใช้เครื่องหมาย Comma (,) คั่นระหว่าง E-Mail address ของแต่ละคน
         -     หลังคำว่า Subject: ให้ใส่ชื่อเรื่องของ E-Mail ของเรา หรืออาจจะไม่ใส่ก็ได้
         -     ในช่อง CC: เป็นการทำสำเนา (Carbon Copy )  ของ Mail ไปถึงผู้รับ โดยการใส่ชื่อ  E-Mail ของคนที่เราต้องการส่ง Mail ไปให้ (เพิ่มเติมจากใน To:  )
         -    ในช่อง Bcc: เป็นการทำสำเนาแบบ Blind Carbon Copy  ใช้ในกรณีที่ต้องการส่ง  E-Mail ถึงบุคคลอื่น โดยบุคคลที่เราส่ง E-Mail ไปให้ใน To: และ CC: จะไม่ทราบว่าเราส่งไปให้บุคคลนี้ด้วย
         -    ในกล่องใหญ่ในส่วนล่าง จะเป็นพื้นที่ในการเขียนข้อความที่เราต้องการที่จะส่ง
         -     เมื่อเขียนข้อความเสร็จแล้วให้นำ Mouse ไป Click ที่ปุ่ม “Send”

การส่ง File ข้อมูลใดๆ ไปกับ  E-Mail
ในกรณีที่เราต้องการส่ง File ใด ๆ ก็ตามแนบไปกับ E-mail ด้วย มีขั้นตอนการส่งดังนี้
           1.  นำ Mouse ไป  Click  ที่ปุ่มที่มีคำว่า “Attachments”
           2.  เลือก File ที่ต้องการจะส่ง โดยกดปุ่มที่มีคำว่า “Browse”
           3.  เมื่อเลือก File ที่ต้องการส่งได้แล้ว กดปุ่มที่มีคำว่า “Open”  แล้วจะเห็นว่า ชื่อ File ที่เราเลือกจะปรากฏอยู่ในช่องว่าง
           4.  ขั้นต่อมากดปุ่มที่มีคำว่า “Attachments” เพื่อแนบ File ไปกับ E-mail
           5.  เห็นได้ว่าชื่อ  File ที่ต้องการจะส่งจะปรากฏบนช่องว่าง ถ้าเราเกิดลังเลเปลี่ยนใจจะเปลี่ยนแปลง File ที่จะส่ง สามารถทำได้โดยการนำ Mouse ไป Click ที่ปุ่ม Remove ถ้าทุกอย่างเรียบร้อยแล้วให้ Click ที่ปุ่ม Done (ในที่นี้ทาง Hotmail.com มีขีดความสามารถในการส่ง File มีขนาดสูงที่สุดได้ไม่เกิน  1 Mb  เท่านั้น)
           6. ขั้นตอนสุดท้ายคือ หลังจากที่เรากด Done แล้วจะกลับมายังหน้าจอเดิม การจะส่ง E-Mail ที่มีการแนบ File ใดๆ ไปด้วยนั้น ก็ให้ทำตามวิธีการส่ง E-Mail ตามปกติ  จะเห็นได้ว่าในส่วนที่มีคำว่า Attachments จะมีชื่อ File ที่เราแนบไปด้วย

มารยาทในการเขียนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
     ในการเขียนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไม่ควรใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ล้วนๆ (ในกรณีที่พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ)  เพราะจะทำให้อ่านยาก การใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ให้ใช้ได้เฉพาะข้อความที่ต้องการเท่านั้น ควรจ่าคำนำหน้าเชื่อมอย่างระมัดระวัง ใช้ถ้อยคำที่เหมาะสม ไม่หยาบคาย หรือทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย เมื่อได้รับจดหมายแล้วควรพิจารณาเนื้อหา และความหมายของถ้อยคำอย่างรอบคอบเพื่อประโยชน์ในการรับสาร
 
ข้อดีของ E-mail
• ประหยัดเวลา
• ประหยัดเงิน
• สามารถส่งในรูปแบบมัลติมีเดียได้
• สามารถแนบไฟล์ที่เป็นเอกสารส่งได้
• สามารถส่งต่อข้อมูลหรือที่เรียกว่า forward ได้

ข้อจำกัดของ E-mail
• ไม่สามารถเข้าถึงบุคคลได้ทุกคน
• ไม่ได้รับต้นฉบับซึ่งควรค่าแก่การเก็บรักษา
• อาจมีไวรัสมาพร้อมกับเอกสารที่ส่งมา
• ถ้าเครือข่ายล่ม ทำให้การส่งหรือรับข้อมูลล้มเหลว
• ถ้าข้อมูลใน mail box เต็มก็ไม่สามารถรับข้อมูลอื่นได้


องค์ประกอบภายในกล่องจดหมาย

การอ่านจดหมาย

ภายในกล่องจดหมายเข้า (Inbox) จะแสดงจดหมายที่อยู่ภายในกล่องเก็บจดหมายนี้ เมื่อเราคลิกเลือกที่ inbox หรือ Check Mail จะปรากฏจดหมายที่มีอยู่ 

การส่งต่อจดหมายกลับ

เมื่ออ่านจดหมายแล้วต้องการที่จะส่งจดหมายเพื่อตอลบกลับไปยังผู้ส่ง สามารถคลิกเลือกที่ Reply เราจะไม่ต้องพิมพ์ชื่อผู้รับอีก เพราะอีเมล์จะนำชื่อของผู้ส่ง (From) มาเป็นชื่อผู้รับ (To) พร้องทั้งชื่อเรื่องก็จะเป็นชื่อเดิม เพียงแต่เพิ่ม Re: หน้าชื่อเรื่องของจดหมาย

การส่งต่อจดหมาย

การส่งต่อจดหมาย หมายความว่า เมื่อเราส่งจดหมายฉบับนี้ไปยังบุคคลอื่นๆ อีก คล้ายกับระบบจดหมายเวียนที่เราส่งต่อไปยังบุคคลอื่นๆ ได้อีกจำนวนมาก โดยไม่ต้องเสียเวลาที่จะเสียเวลาที่จะเขียนจดหมายทีละฉบับเพื่อส่งให้แต่ละคน จะเป็นการช่วยลดเวลาในการเขียนจดหมาย 

การลบจดหมาย

เมื่อได้อ่านจดหมายแล้ว และถ้าไม่ต้องการเก็บจดหมายฉบับนี้ไว้อ่านอีก เราก็จะทำการลบจดหมายฉบับนั้นทิ้ง เพราะการใช้งานในอีเมล์นั้นเราจะได้รับเนื้อที่จากเมล์เซิร์ฟเวอร์ ในการเก็บจดมายจำนวนจำกัด ขึ้นอยู่กับเมล์เซิร์ฟเวอร์จะกำหนด ดังนั้นถ้าเราเก็บจดหมายทุกฉบับไว้ก็จะทำให้ตู้เก็บจดหมายของเราเต็มได้ หรือจำนวนจดหมายมากเกินไป

การกู้จดหมายกลับคืน

การกู้จดหมายกลับคืนสามารถทำได้ดังต่อไปนี้ 

1. คลิกที่ Trash

2. คลิกเลือกจดหมายที่ต้องการกู้กลับคืน

3. คลิกที่ Move เพื่อกำหนดสถานมารที่ที่จะนำจดหมายจากถังขยะ (Trash) ไปเก็บไว้

1. (New Folder) ให้สร้างโฟลเดอร์ใหม่ที่ต้องการเก็บจดหมาย หรือ 

2. Inbox ให้นำจดหมายไปเก็บไว้ในกล่องจดหมายเข้า หรือถ้าได้มีการสร้างโฟลเดอร์ไว้แล้ว จะแสดงชื่อของโฟลเดอร์นั้นออกมาแสดงเพื่อไห้เราเลือก

4. แต่ถ้าต้องการลบจดหมายฉบับนี้ออกจากถังขยะ (Trash) ก็เพียงแต่คลิกเลือกจดหมายแลว้ให้คลิกที่ Delete จะเป็นการลบจดหมายออกจากถังขยะ (Trash) ทันที และจะไม่สามารถกู้จดหมายกลับคืนได้อีกต่อไป

(New Folder) ให้สร้างโฟลเดอร์ใหม่ที่ต้องการเก็บจดหมาย หรือ 

Inbox ให้นำจดหมายไปเก็บไว้ในกล่องจดหมายเข้า หรือถ้าได้มีการสร้างโฟลเดอร์ไว้แล้ว จะแสดงชื่อของโฟลเดอร์นั้นออกมาแสดงเพื่อไห้เราเลือก


ที่มา : http://muengman.blogspot.com/2012/11/6.html

Game Online กับการศึกษา

    ปัจจุบันการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเป็นเรื่องที่กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง งานวิจัยหลายชิ้นสนับสนุนว่า การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คอมพิวเตอร์กับการเรียนการสอนจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจและส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปัจจุบันเกิดแนวคิดในการทำให้การเรียนการสอนมีความสนุกสนานและดึงดูดความสนใจของผู้เรียน
         โดยใช้การเรียนรู้ผ่านเกม (Games Based Learning) ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่นำเอาความสนุกสนานของเกม และเนื้อหาบทเรียนวิชาต่างๆ มาผสมผสาน และ ออกแบบให้อยู่ในรูปแบบใหม่เข้าด้วยกัน ทำให้ผู้เรียนได้รับทั้งความรู้และความเพลิดเพลินไปพร้อมๆกัน โดยเฉพาะในลักษณะของเกมจำลองสถานการณ์ ที่มีการสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่สนุกสนาน เพลิดเพลิน ทำให้การเรียนรู้ไม่น่าเบื่อ และมีความท้าทาย

การเรียนรู้ผ่านเกม (Game-based learning) ถือเป็น e-learning อีกรูปแบบหนึ่ง  ที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียนเอง (engage learners with their own learning) บนพื้นฐานแนวคิดที่จะทำให้การเรียนรู้เป็นเรื่องสนุกตามแนวคิด Edutainment โดยเกมประเภท MMORPG (Massive Multiplayer o­nline Role-playing Game) นั้น เป็นเกมประเภทที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน  ลักษณะเด่นของเกมดังกล่าวนั้นจะเป็นโลกเสมือนที่ให้ผู้เล่นสามารถเข้าไปเล่นพร้อมกันได้หลายคนและมีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ภายในเกม จากรูปแบบเกมนี้เองจึงเหมาะสมสำหรับการนำมา
สร้างเป็นเกมเพื่อการเรียนรู้

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านต่างๆ

การนำเทคโนโลยีสารนิเทศมาใช้กับสังคมสารนิเทศใน ปัจจุบันก่อให้เกิดการสื่อสารและการใช้ประโยชน์ จากสารนิเทศได้อย่างเต็มที่  และมีประสิทธิภาพ  ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารนิเทศมีดังต่อไปนี้ คือ

            1. ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็ว โดยใช้โทรศัพท์  คอมพิวเตอร์หรือในรูปของ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

            2. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ซึ่งผลิตออกมาในแต่ละวัน

            3. ช่วยให้เก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างสะดวก

            4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารนิเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร  ด้วยการช่วยคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อนซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ

            5. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารนิเทศ

            6. สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น

            7. อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารนิเทศดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ผู้ใช้สารนิเทศมี ทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า

            8. ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ เป็นต้น



การใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ในครอบครัวของตนเอง

ช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สังคมปัจจุบันเป็นสังคมที่ต้องทำงานแข่งขันกับเวลาจึงนำเอาเทคโนโลยีระบบสื่อสารมาประยุกต์ใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ควบคุมการปิด-เปิดไฟฟ้าในบ้านผ่านโทรศัพท์ ควบคุมระบบปรับอากาศ ตรวจสอบหมายเลขเรียกเข้าของโทรศัพท์ในบ้าน อีกทั้งยังสามารถติดต่อสื่อสารกับสมาชิกภายในครอบครัวในระยะทางไกลได้อีกด้วย



ที่มา : http://school.obec.go.th/budhabath/krooaum/unit2.htm
http://www.technobuffalo.com/wp-content/uploads/2013/04/skype-outlook.png

ความหมายของคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป  นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้ 


ที่มา :  http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/page11.htm

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

คำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดจากการนำคำว่า เทคโนโลยี และ สารสนเทศมารวมกันจะ ได้ เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยี + สารสนเทศ = เทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของเทคโนโลยี
เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง วิธีการปฏิบัติ ที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ในเรื่องของความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง เป็นต้น
ความหมายของสารสนเทศ
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลดิบ ที่ได้ผ่านการประมวลผล จากคอมพิวเตอร์มา แล้ว คือผ่านการคำนวณ การจัดเรียงการเปรียบเทียบ เป็นต้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องได้
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เมื่อนำคำว่า "เทคโนโลยี" และ "สารสนเทศ"มารวมกัน
เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
จึงหมายถึง วิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ในเรื่องของความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้องซึ่งเป็นเทคโนโลยี ที่มีการนำคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสำหรับการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม มาทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ โดยนำข้อมูลป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ และทำการประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ

http://forum.datatan.net/index.php?topic=94.0;prev_next=prev


ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) Information and Communication Technology แปลว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูลและการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะหมายถึง คอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคำสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และระบบการสื่อสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียมหรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ทั้งมีสายและไร้สาย (ความหมายตามที่ให้ไว้ในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันทุกวันนี้อย่างยิ่ง จึงตั้งหน่วยงานขึ้นรองรับและบริการ เกิดเป็นกระทรวงใหม่ชื่อ "กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร-Ministry of Information and Communication Technology" หรือกระทรวงไอซีที-ICT