วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

การใช้งานของ Facebook, Twitter, Google+, Youtube, Line

การใช้งานของ Facebook : How to use Facebook







การใช้งานของ Twiwwer : How to use twitter







การใช้งานของ Google+ : How to use Google+






การใช้งานของ Youtube : How to use Youtube




การใช้งานของ Line : How to use Line





ความรู้เกี่ยวกับ Web Application, Search Engine

Web Application คืออะไร        

                ส่วนมากคนมักจะคุ้นเคยกับ Desk top Application หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งบนคอมพิวเตอร็์ส่วนบุคคล เช่น โปรแกรมพวก Microsoft Office เช่นโปรแกรมพิพม์งาน หรือ Word Processor ที่ใช้พิมพ์งาน ซึ่งจะติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ  และใช้ได้ทีละคนหากทำงานที่บริษัทคุณจะคุ้นเคยกับโปรแกรมที่บริษัทใช้ เช่น ERP หรือ MRP หรือโปรแกรมห้องสมุด โปรแกรมพวกนี้มักจะเป็นโปรแกรมแบบ Client - Serverคือ โปรแกรมที่ใช้งานโดยคนหลายๆคนพร้อมๆกัน มีการเก็บข้อมูลไว้ที่ฐานข้อมูลกลาง ทำให้ทุกคนใช้ข้อมูลเดียวกัน ร่วมกันได้โดยโปรแกรมจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือส่วนหนึ่งถูกติดตั้งที่ Server ส่วนกลาง และอีกส่่่่วนติดตั้งที่คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ หรือที่เรียกว่า Client ซึ่งทั้งสองส่วนจะทำงานร่วมกัน โดยโปรแกรมบน Server มักจะทำงานหลักๆ ที่จำเป็นเช่นการคำนวน การค้นหาข้อมูล การเก็บข้อมูล ส่วนโปรแกรมที่คอมพิวเตอร์ของเรา หรือที่เรียกว่า Client นั้นจะทำหน้าที่นำเสนอข้อมูล และรับข้อมูลจากผู้ใช้ หรือที่เรียกว่าเป็น User Interface โปรแกรมแบบนี้ซับซ้อนและดูแลยาก เพราะหากคุณ Upgrade โปรแกรมที่ Server คุณก็ต้อง Upgrade โปรแกรมที่ Client ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวเนื่องจาก Client มีหลายเครื่อง ยากที่ Upgrade ได้ครบ





                 ในระยะหลังๆนี้คุณคงได้ยินโปรแกรมอีกประเภทที่ได้รับความนิยมมากขึ้นโปรแกรมนั้นก็คือ Web Application เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งที่ Server  ซึ่ง Web Application สามารถใช้งานแทนโปรแกรมทั้งแบบ  Desktop และแบบ Client - Server เช่น โปรแกรม Google Application ซึ่งใช้แทน Microsoft Office เช่นมีทั้ง Word Processor และหรือ Spread Sheet ที่ใช้แทน Excel โดยเฉพาะโปรแกรมแบบ Client-Server หลายตัวก็กำลังแปลงตัวเป็น Web Application เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เช่น SAP, Lotus Notes ฯลฯ 
                 ข้อดีของ Web Application ตรงที่ Web Application ไม่ต้องใช้ Client Program ทำให้ไม่ต้อง Upgrade Client Program และสามารถใช้ผ่าน Internet Connection ที่มีความเร็วต่ำกว่า ทำให้ใช้โปรแกรมได้จากทุกแห่งในโลก



Search engine

               Search engine คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย Search engine ส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน Search engine บางตัว เช่น google จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหา














ที่มา :

ความหมายคำศัพท์ WAP, WIFI, ISP, HTML, GPRS, CDMA, Bluetooth

WAP คืออะไร

                ความหมายจาก พจนานุกรมคำศัพท์คอมพิวเตอร์ หมายถึง เป็นคำเรียกสั้น ๆ ของเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) ซึ่งหมายถึงสถานที่รวมของกลุ่มคอมพิว เตอร์ที่มีข้อมูลเตรียมพร้อมไว้ให้ผู้คนอ่านผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Internet) โดยใช้ภาษา เอชทีทีพี (HTTP หรือ Hypertext Tranfer Protocol) ทุกหน้าจะมีทั้งเนื้อหาเรื่องราวต่าง ๆ มีเมนูพร้อมที่จะให้เราสั่งงาน มีคำหลายคำที่มีแถบสีซึ่งเราสามารถกดเมาส์ถามหารายละเอียดต่าง ๆ ในเรื่องนั้นต่อ ซึ่งอาจเป็นการเรียกหาจากแหล่งเดียวกัน หรือจากแหล่งคอมพิวเตอร์อื่นได้ทั่วโลก ดู internet, HTML ประกอบ
               
              
               ถ้าจะพูดกันตามหลักการแล้ว WAP ก็คือ Wireless Application Protocol เป็นชุด โปรโตคอล หรือกฎเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ที่บอกถึงวิธีการติดต่อของโทรศัพท์ไร้สายเพื่อใช้ข้อมูลและบริการ รวมถึงชุดคำสั่งสำหรับการพัฒนาแอพพลิเคชั่น แบบเครือข่ายไร้สายซึ่งพัฒนาโดยองค์กรที่เรียกตัวเองว่า WAP Forum หรือเราอาจจะอธิบายความหมายของ WAP ได้อีกว่า เป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อให้เข้าใจระหว่างโทรศัพท์กับอินเตอร์เน็ต เพื่อที่จะขอใช้ข้อมูลและบริการต่าง ๆ WAP หรือ Wireless Application Protocal เป็น Communication Protocal ที่มีพื้นฐานมาจาก Internet Protocal ซึ่ง WAP เป็นมาตรฐานเปิดของระบบการสื่อสารด้านข้อมูลไร้สาย ที่ทำให้สามารถเชื่อมต่อโลกของข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต มาสู่บริการของเครื่องมือสื่อสารไร้สาย อันได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ เครื่องมือสื่อสารไร้สาย อื่นๆ ซึ่งนั้นก็หมายถึงการทำให้ผู้ใช้โทรศัพท์ เคลื่อนที่สามารถจะเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อ ค้นหาข้อมูลหรือใช้บริการต่างๆ โดยผ่านเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ (โดยไม่ต้องมีโมเด็มหรือตัวแปลงสัญญาณอื่นๆ) ได้ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใดนั้นเอง ข้อมูลและ application ต่างๆบน WAP นี้ จะถูกนำเสนอในรูปแบบของภาษา WML ซึ่งย่อมาจาก Wireless Markup Language ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อรับรองการใช้งาน อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องของ พื้นที่หน้าจอแสดงผลที่จำกัด รวมถึงข้อจำกัดในเรื่องของความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลที่ค่อนข้างต่ำ (ปัจจุบันประมาณ 9.6-14.4 kbps เท่านั้น) ทำให้ WML ถูกออกแบบมาเพื่อต้องทำการบีบอัดข้อมูลให้เล็กลงได้ด้วย การที่จะใช้บริการ WAP - อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ-ได้ คุณจะต้องมี โทรศัพท์มือถือที่รองรับการใช้งานของ WAP ด้วย



Wi-Fi คืออะไร

             Wi-Fi ( ย่อมาจาก wireless fidelity ) ก็คือองค์กรหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ทดสอบผลิตภัณฑ์ Wireless Lan หรือระบบ Network แบบไร้สายภายใต้เทคโนโลยีการสื่อสาร ภายใต้มาตราฐาน IEEE 802.11 ว่าอุปกรณ์ทุกตัวซึ่งต่างยี่ห้อกันนั้นมันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ มีปัญหา หากว่าอุปกรณ์ตัวนั้นผ่านตามมาตราฐานเขาก็จะปั๊ม ตรา Wi-Fi certified ซึ่งเป็นอันรู้กันว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นสามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ตัวอื่น ที่มีตรา Wi-Fi certified นี้ได้เช่นกัน แต่ทำไปทำมามันกลายเป็นคำศัพท์สำหรับอุปกรณ์ Lan ไร้สายไปโดยปริยาย จนบางคนก็เรียกกันจนติดปาก


ISP คืออะไร

        isp มาจากคำว่า Internet Service Provider ตามหนังสือศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ 4 ได้ระบุความหมายว่าหมายถึง "ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต" ISPเป็นหน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา กับบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป ISP ที่เป็นหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา มักจะเป็นการให้บริการฟรีสำหรับสมาชิกขององค์การเท่านั้น แต่สำหรับ ISPประเภทที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้นๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละราย ข้อดีสำหรับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ก็คือ การให้บริการที่มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งรองรับกับความต้องการของผู้ใช้ที่แตกต่างกัน มีทั้งรูปแบบส่วนบุคคล ซึ่งจะให้บริการกับประชาชนทั่วไปที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต และบริการในรูปแบบขององค์กร หรือบริษัท ซึ่งให้บริการกับบริษัทห้างร้าน หรือองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการให้พนักงานในองค์กรได้ใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ISP จะเป็นเสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการข้อมูลอะไรก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา


HTML คืออะไร

                 HTMLย่อมาจาก Hyper Text Markup
Language คือภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการแสดงผลของเอกสารบน website หรือที่เราเรียกกันว่าเว็บเพจ ถูกพัฒนาและกำหนดมาตรฐานโดยองค์กร World Wide Web Consortium (W3C) และจากการพัฒนาทางด้าน Software ของ Microsoft ทำให้ภาษา HTML เป็นอีกภาษาหนึ่งที่ใช้เขียนโปรแกรมได้ หรือที่เรียกว่า HTML Application  
          HTML เป็นภาษาประเภท Markup   สำหรับการการสร้างเว็บเพจ โดยใช้ภาษา HTML สามารถทำโดยใช้โปรแกรม Text Editor ต่างๆ เช่น Notepad, Editplus หรือจะอาศัยโปรแกรมที่เป็นเครื่องมือช่วยสร้างเว็บเพจ เช่น Microsoft FrontPage, Dream Weaver ซึ่งอํานวยความสะดวกในการสร้างหน้า HTML ส่วนการเรียกใช้งานหรือทดสอบการทำงานของเอกสาร HTML จะใช้โปรแกรม web browser เช่น IE Microsoft Internet Explorer  (IE), Mozilla Firefox, Safari, Opera, และ Netscape Navigator เป็นต้น



GPRS คืออะไร
GPRS ย่อมาจาก General Packet Radio Service นี้ไม่ใช่สิ่งใหม่แต่ประการใดในแวดวงโทรคมนาคม ซึ่งจะจัดให้มันอยู่ในเจนเนอเรชั่นที่ 2.5 G สำหรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ (โดย 1 G หมายถือโทรศัพท์มือถือระบบอนาล็อก, 2 G หมายถึง โทรศัพท์มือถือดิจิตอลปัจจุบันที่เราใช้อยู่)





          GPRS นั้นถือว่าเป็นบริการใหม่ที่ล้ำสมัยของโทรศัพท์มือถือที่ไม่จำกัดตัวเองอยู่แค่การใช้เสียงเท่านั้น โดยมันมีความสามารถในการส่งข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ได้ด้วยความเร็วในระดับ 172 Kbps (ขณะที่โทรศัพท์มือถือดิจิตอลธรรมดาส่งได้ด้วยความเร็ว 9.6 Kbps) ซึ่งความเร็วที่สูงระดับนี้สามารถรองรับกับ การใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างง่ายๆ ได้อย่างไม่มีปัญหา และอีกไม่นานเราคงจะได้เห็นการใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบย่อ ในมือคุณไม่ว่าจะเป็นการ Chat, Web, Browsing, FTP หรือ E-mail
          GPRS ได้ถูกกำหนดเป็นมาตรฐาน และมีกำหนดการที่จะออกใช้งานทั่วโลก โดยเริ่มมีการวางระบบเพื่อรองรับการใช้งานงานตั้งแต่ปี 2000 โดยปี 2001 นั้นจะเริ่มทดสอบให้บริการที่ความเร็ว 56 Kbps และ 112 Kbps ก่อน โดยทั้งหมดจะทำงานอยู่บนเครือข่ายโทรศัพท์ GSM เดิม (แต่ตัวเครื่องโทรศัพท์ GSM เดิม จะไม่สามารถใช้งานกับ GPRS ได้) จากนั้นในปี 2002 จะเข้าสู่ยุคของ 3G

CDMA คืออะไร?
           
              CDMA (Code Division Multiple Access) เป็นรูปแบบของเทคโนโลยีการสื่อสารอีกประเภทหนึ่งที่มีให้บริการอย่างแพร่หลาย ได้รับการคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท Qualcomm ระบบ CDMA จะทำงานโดยการแปลงคลื่นเสียงไปเป็นข้อมูลดิจิแบบตอล และถูกนำไปเข้ารหัสเฉพาะสำหรับการใช้งานในแต่ละครั้ง ซึ่งทำให้ระบบ CDMA นั้นสามารถรองรับการใช้งานจากเครื่องลูกข่ายได้ในจำนวนมาก ในระบบ CDMA นั้นยังแบ่งเทคโนโลยีออกไปได้หลายแบบ อาทิเช่น CDMA One (IS-95A และ IS-95B), CDMA 2000 1x และ CDMA 2000 1xEV
CDMA 2000 1x
       เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจาก CDMA เดิม โดยได้เพิ่มความสามารถในด้านการรองรับการใช้งานโทรศัพท์ และการรับส่งข้อมูลให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 153 kbps ทำให้สามารถใช้งานมัลติมีเดียได้สะดวกมากขึ้น

CDMA 2000 1xEV
        เป็นอีกเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาจาก CDMA 2000 1x เดิมโดยได้แบ่งออกเป็นสองแบบคือ CDMA 2000 1xEV-DO หรือ Data Optimized ซึ่งเป็นการพัฒนาความสามารถในด้านการใช้งานรับส่งข้อมูลให้มีความเร็วสูงขึ้นถึง 2.4 Mbps และอีกแบบหนึ่งคือ CDMA 2000 1xEV-DV หรือ Data and Voice ซึ่งเป็นการพัฒนาให้รองรับทั้งการใช้งานเสียงและข้อมูลที่ดียิ่งขึ้น


Bluetooth คืออะไร
            บลูทูธ (Bluetooth) คือ ระบบการสื่อสารของอุปกรณ์อิเล็กโทนิคแบบสองทาง ที่ใช้เทคนิคการส่งคลื่นวิทยุระยะสั้น (Short-Range Radio Links) เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างอุปกรณ์ต่างชนิดกัน โดยปราศจากการใช้สายเคเบิ้ล หรือ สายสัญญาณเชื่อมต่อ และไม่จำเป็นต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรงเหมือนกับอินฟราเรด ซึ้งถือว่าเพิ่มความสะดวกมากกว่าการเชื่อมต่อแบบอินฟราเรด ที่เชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับอุปกรณ์ ในโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อนๆ โดยปัจจุบัน ระบบ บลูทูธได้เข้ามาช่วยทำให้การส่งถ่ายข้อมูลที่เป็นภาพ เสียง สะดวกยิ่งขึ้น







ที่มา :

ความหมายคำศัพท์ Web Site, Web page, Homepage, Webmaster, WWW และ TCP/IP

เว็บไซต์ (อังกฤษ: Website, Web site หรือ Site) 

      หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการ เพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์




เว็บเพจ (Web Page) คืออะไร

          เว็บเพจ คือ คำที่ใช้เรียกหน้าเอกสารต่างๆ ที่อยู่ในรูปแบบไฟล์ HTML (Hyper Text Markup Language) เปรียบเสมือนหน้ากระดาษแต่ละหน้าที่มีเรื่องราวต่างๆมากมายบรรจุอยู่ในนิตรสาร แต่แตกต่างกันตรงที่มีการเชื่อมโยง (Link) ซึ่งเราสามารถคลิกไปที่หน้าใดของโฮมเพจก็ได้







โฮมเพจ (Home Page) คืออะไร

         คือ หน้าแรกที่แสดงข้อมูลของเว็บไซต์ หรือ WWW (World Wide Web) เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ หรือ เป็นการดึงดูด ให้เข้าไปชมข้อมูลภายใน ซึ่งภายใน โฮมเพจอาจมีเอกสารข้อความอื่นๆที่เรียกว่า เว็บเพจ (web page) เชื่อมโยงต่อจากโฮมเพจนั้นได้อีกเป็นจำนวนมาก






เว็บมาสเตอร์ (webmaster) คืออะไร 

        เว็บมาสเตอร์ (อังกฤษ: webmaster) คือบุคคลผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบการออกแบบ การพัฒนา การดูแลการตลาด และการบำรุงรักษาเว็บไซต์ โดยเฉพาะบนเว็บไซต์ชุมชนออนไลน์ เว็บมาสเตอร์สามารถปรับเปลี่ยนหรือจัดการความคิดเห็นของผู้ใช้คนอื่นๆ ได้ เว็บมาสเตอร์อาจเรียกเป็นอย่างอื่นได้เช่น ผู้ดูแลเว็บไซต์ (website administrator) ผู้สร้างเว็บ ผู้พัฒนาเว็บ หรือผู้ออกแบบเว็บ เป็นต้น





                                            www คืออะไร


             www คือ World Wide Web หรือที่เรามักเรียกสั้นๆว่า Web หรือ W3 (WWW) คือ คอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งบนอินเตอร์เน็ต ที่ถูกเชื่อมต่อกันในแบบพิเศษที่ทำ
ให้คอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาที่เก็บไว้ภายในของแต่ละเครื่องได้ (กลายเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่) โดยผ่านทาง บราวเซอร์ (Browser) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้อ่านและตอบโต้ข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ใน World Wide Web โดยเฉพาะ บราวเซอร์ที่พบเห็นได้มากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ Internet Explorer ของ และ Netscape

TCP/IP คืออะไร
TCP/IP  คือ การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น
จำเป็นจะต้องมีภาษาสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) เช่นเดียวกับคนเราที่ต้องมีภาษาพูดเพื่อให้สื่อสารเข้าใจกันได้ ในระบบอินเทอร์เน็ต จะใช้ภาษาสื่อสารมาตรฐานที่ชื่อว่า TCP/IP









ที่มา :

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

ความหมายคำศัพท์ Internet, Intranet, Domain Name, Host


อินเทอร์เน็ต (Internet)  คืออะไร


         อินเทอร์เน็ต(Internet) คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้มา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย


อินทราเน็ต (Intranet) คืออะไร

      อินทราเน็ต(Intranet) คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นบริการ และการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหมือนกันอินเทอร์เน็ต แต่จะเปิดให้ใช้เฉพาะสมาชิกในองค์กรเท่านั้น เช่น อินทราเน็ตของธนาคารแต่ละแห่ง หรือระบบเครือข่ายมหาดไทย ที่เชื่อมศาลากลางทั่วประเทศ เป็นต้น เป็นการสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเปิดบริการคล้ายกับอินเทอร์เน็ตเกือบทุกอย่าง แต่ยอมให้เข้าถึงได้เฉพาะคนในองค์กรเท่านั้น เป็นการจำกัดขอบเขตการใช้งาน ดังนั้นระบบอินเทอร์เน็ตในองค์กร ก็คือ "อินทราเน็ต" นั่นเอง แต่ในช่วงที่ชื่อนี้ยังไม่เป็นที่นิยม ระบบอินทราเน็ต ถูกเรียกในหลายชื่อ เช่น Campus network, Local internet, Enterprise network เป็นต้น 

โดเมนเนม (Domain name) คืออะไร

               

           โดเมนเนม (อังกฤษ: domain name) หมายถึง โดเมนเนม ความหมายโดยทั่วๆ ไป หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ ชื่อบล็อก ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้จดจำและนำไปใช้งานได้ง่าย ทั้งในการเข้าชมผ่านบราวเซอร์ของผู้ใช้ทั่วไป ยังรวมไปถึงผู้ดูแลระบบ Domain name System ที่สามารถแก้ไข IP Address ของชื่อโดเมนเนมนั้นๆได้ทันทีโดยที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำ IP Address ที่มีการเปลี่ยนแปลง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่เว็บไซต์ จะมีโดนเมนเนมเฉพาะไม่ซ้ำกับใคร
           โดเมนเนมเมื่อมาใช้กับเทคโนโลยีสื่อสาร โทรคมนาคม จึงหมายถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎ ระเบียบ และข้อกำหนดต่าง ๆ  โดเมนเนมคือชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์ หรืออีเมลแอดเดรส) เพื่อไปค้นหาในระบบ แต่จะต่างกันที่ เช่น .com เป็น Websiteลักษณะการประกอบการเชิงพาณิชย์

โฮสต์ (Host,hosting,Web hosting) คืออะไร


           
              โฮสต์ (host) ตามความหมายของ สวทช. หมายถึง เครื่องแม่ข่าย (คอมพิวเตอร์)

          host หรือ Web hosting คือ รูปแบบการให้บริการที่อนุญาตให้ผู้ใช้บริการสามารถนำ website ของตนเองขึ้นไป online บน internet ได้ ทุก website ที่ online บน internet จะต้องได้รับการฝาก หรือเก็บไว้บนคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า web server ซึ่ง web server นี้จะทำหน้าที่เป็นตัวติดต่อกับทุกหนทุกแห่งตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ website สามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลาในโลกที่มีการเชื่อมต่อ internet โดยแค่พิมพ์ชื่อ web site  (Domain Name) ซึ่งอย่างไรก็ตามการติดตั้งระบบ web server เป็นของตนเองสามารถทำได้ แต่มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงมากและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคดูแล ดังนั้นบริษัทส่วนใหญ่จะไม่ดำเนินการลงทุน เพื่อเป็นเจ้าของเอง และนี่คือที่มาของบริการ web hosting 






ที่มา :